สรุปการวิจัย
เรื่อง ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ
1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน
ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 3)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
จํานวน 50 คน จาก 15
โรงเรียนของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี
เขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ 2
ขั้นตอน (two stage sampling) คือ ขั้นที่ 1
สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มจาก 15
โรงเรียน ให้เหลือ 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น
จํานวนเด็กปฐมวัย 28 คน และโรงเรียนวัดคูบัว จํานวนเด็กปฐมวัย 22 คน
ขั้นที่ 2 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก
เพื่อเลือกวิธีการจัดประสบการณ์ ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น เป็นกลุ่มที่1
ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และโรงเรียนวัดคูบัว
เป็นกลุ่มที่ 2 ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้
ไม่แตกต่างกัน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.
เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย
ระหว่างก่อนกับหลังการจัประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2.
เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยระหว่าง
ก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 6 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีท่
16ี ฉบับท่ ี1 มกราคม – มีนาคม 2557
3.
เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ของเด็กปฐมวัยระหว่างที่ได้รับการจัดประสบการณการเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้
ขอบเขตของการวิจัย
1.
เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
ของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์ อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย
(simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจากจํานวน
15 โรงเรียน จับสลากไว้ 2 โรงเรียน แล้วสุ่มอีกครั้งเพื่อเป็นกลุ่มทดลองที่1
ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดวังน้ําเย็นจํานวน 28 คน
ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่
2โรงเรียนวัดคูบัว จํานวน 22 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
2.
เนื้อหาที่ใช้การวิจัย ในครั้งนี้คือ เนื้อหาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช
2546โดยเน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สาระที่ควรเรียนรู้
เป็นสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก มีทั้งหมด 4 เรื่อง
ได้แก่ เรื่อง 1) สัตว์ 2) ต้นไม้ 3) อาหาร และ 4) ของเล่น ของใช้
3.
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทําการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
ใช้เวลาในการทดลองในแต่ละวิธี เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 40 นาที
รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
4.
ตัวแปรที่ใช้ศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่
4.1 ตัวแปรต้น คือ วิธีจัดประสบการณ์การเรียนรู้
จําแนกเป็น
1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
4.2 ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ด้านทักษะการสังเกต และด้านทักษะการจาแนกประเภท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น