วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุป
เรื่อง อากาศ

                           


          อากาศ คือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ  และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ ๆ  ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น 

   1. ไนโตรเจน (nitrogen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 78 โดยปริมาตร ไนโตรเจนทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศไม่เข้มข้น ทำให้การสันดาปซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีลดความรวดเร็วลง ไนโตรเจนในอากาศบางส่วนจะถูกแบคทีเรียที่อยู่ในดิน ในรากพืชบางชนิด ตรึงเอาไปไว้เพื่อประโยชน์ของพืช เมื่อพืชและสัตว์ตายลงจะสลายตัวเป็นไนโตรเจนกลับสู่อากาศอีกครั้ง
    2. ออกซิเจน (oxygen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 21 โดยปริมาตร ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสันดาป พืชและสัตว์ต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจ (กระบวนการเมแทบอลิซึมของเซลล์) และออกซิเจนเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
    3. คาร์บอนไดออกไซด์ (carbondioxide) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 0.04 โดยปริมาตร พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจออกของสิ่งมีชีวิตจะหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ภายนอก
    4. แก๊สเฉื่อย (inert gas) เป็นแก๊สที่ไม่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาทางเคมีใดๆ เช่น
 1) อาร์กอน (Ar) มีอยู่ในอากาศมากที่สุดในกลุ่มของแก๊สเฉื่อยด้วยกัน มีอยู่ประมาณร้อยละ 0.09 โดยปริมาตร นำไปใช้ในการทำหลอดไฟฟ้าเรืองแสง เพราะพบว่า ถ้านำอาร์กอนกับไนโตรเจนใส่ลงในหลอดไฟฟ้า ไอของอาร์กอนจะทำให้หลอดไฟฟ้า เกิดการเรืองแสงขึ้นได้
  
2) ฮีเลียม (He) เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นต่ำ นำไปใช้ในการบินของเรือเหาะในยุคก่อน ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว
 3) นีออน (Ne) เป็นแก๊สที่เปล่งแสงได้สวยงามเมื่อกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่าน นิยมนำมาทำป้ายโฆษณาในเวลากลางคืน
 4) คริปทอน (Kr) และซีนอน (Xe) เป็นแก๊สที่มีน้อยที่สุดในกลุ่มของแก๊สเฉื่อยในอากาศ นำมาใช้ประโยชน์ในการทำไฟโฆษณา
 5) ไอน้ำ เป็นส่วนของน้ำที่กลายเป็นไอน้ำเนื่องจากความร้อนของแหล่งความร้อนต่างๆ แล้วไปอยู่ในอากาศเป็นส่วนประกอบของอากาศ ถ้าในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 60 ณ อุณหภูมิ 68 องศาฟาเรนไฮต์ เราจะรู้สึกสบายที่สุด
 
6) ฝุ่นละออง ในอากาศมีฝุ่นละอองจำนวนไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของอากาศอื่นๆ ฝุ่นละอองจะเป็นตัวช่วยสะท้อนแสงทำให้แสงจากดวงอาทิตย์สว่างมากขึ้น
 7)สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในอากาศจะมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นส่วนประกอบด้วย เช่น แบคทีเรีย รา ไวรัส เป็นต้น


คุณสมบัติ ของ อากาศ
ความหนาแน่นของอากาศ
ความดันอากา
อุณหภูมิของอากาศ
ความชื้น



สรุปการวิจัย
เรื่อง ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้


        

                  การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ
1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 50 คน จาก 15 โรงเรียนของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน (two stage sampling) คือ ขั้นที่ 1 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มจาก 15 โรงเรียน ให้เหลือ 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น จํานวนเด็กปฐมวัย 28 คน และโรงเรียนวัดคูบัว จํานวนเด็กปฐมวัย 22 คน ขั้นที่ 2 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เพื่อเลือกวิธีการจัดประสบการณ์ ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น เป็นกลุ่มที่1 ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และโรงเรียนวัดคูบัว เป็นกลุ่มที่ 2 ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที  ผลการวิจัยพบว่า

 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ ไม่แตกต่างกัน



                วัตถุประสงค์ของการวิจัย
 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนกับหลังการจัประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ

 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยระหว่าง ก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  6 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีท่ 16ี ฉบับท่ ี1 มกราคม มีนาคม 2557

 3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยระหว่างที่ได้รับการจัดประสบการณการเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้

                  ขอบเขตของการวิจัย
 1. เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์ อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจากจํานวน 15 โรงเรียน จับสลากไว้ 2 โรงเรียน แล้วสุ่มอีกครั้งเพื่อเป็นกลุ่มทดลองที่1 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดวังน้ําเย็นจํานวน 28 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2โรงเรียนวัดคูบัว จํานวน 22 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

 2. เนื้อหาที่ใช้การวิจัย ในครั้งนี้คือ เนื้อหาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546โดยเน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก มีทั้งหมด 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง 1) สัตว์ 2) ต้นไม้ 3) อาหาร และ 4) ของเล่น ของใช้
 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทําการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาในการทดลองในแต่ละวิธี เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
 4. ตัวแปรที่ใช้ศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่

4.1 ตัวแปรต้น คือ วิธีจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จําแนกเป็น

1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ

2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

4.2 ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ด้านทักษะการสังเกต และด้านทักษะการจาแนกประเภท


สรุปบทความ

เรื่อง  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


     วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 – 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล  ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพืช  เป็นต้น
       การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  โดยการศึกษาเปรียบเทียบ  ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน  และนำไปสู่ข้อสรุปว่า  เต่ามีลักษณะอย่างไร  หนูมีลักษณะอย่างไร  (Hendrick,  1998  :  42)  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
      การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  (Dina  Stachel)  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล,  2542  :  12)
                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
          ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง  4  หน่วยดังกล่าว  เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ  ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้  หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/427486

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233
 (ไม่ได้มาเรียน อ่างอิงมาจาก นางสาว จิตติกา จันทร์สว่าง)

การนำเสนอวิจัยทั้งหมด 4 คน

1.นางสาวชนากานต์  มีดวง  วิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลป์สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2.นางสาวสุธิดา  คุณโตนด  วิจัยเรื่อง ผลของการบันทึกประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

3.นางสาวธิดารัตน์  สุทธิ  วิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย


4.นางสาวธนภรณ์  คงมนัส  วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
และการทำวาฟเฟิ้ลมีวิธีการและเครื่องปรุงดังนี้
1.แป้งเค้กตราพัดโปก 2 ถ้วยตวง
2.ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ
3.น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
4.เนยสดละลาย 1/2 ถ้วย
5.ไข่แดง 2 ฟอง
6.นมข้นจืด 2/3 ถ้วย
7.น้ำหอมกลิ่นวานิลา 1/2 ช้อนชา
8.ไข่ขาว 2 ฟอง

วิธีทำ
1. ร่อนแป้งตราพัดโบก กับผงฟูเข้าด้วยกัน เทน้ำตาลทรายลงผสมเข้าด้วยกันในอ่างผสม
2. ทำแป้งเป็นบ่อตรงกลาง เติมเนยละลาย ไข่แดง นมข้มจืด น้ำ และกลิ่นวานิลาลงไป
3. ใช้ตะกร้อมือคนจนทั่วให้ส่วนผสมเข้ากันดี แล้วพักไว้
4. ใช้เครื่องผสมอาหารขนาด 5 ลิตร ตีไข่ขาวด้วยหัวตีรูปตะกร้อ
ตีโดยใช้ความเร็วสูง หรือเกียร์3 จนกระทั่งไข่ขาวตั้งยอดแข็ง
5. เทส่วนผสมของไข่แดงลงในไข่ขาว คนตะล่อมให้ส่วนผสมเข้ากัน
6. เทลงบนแม่พิมพ์ของเตาทำขนมวาฟเฟิลที่เปิดเครื่องไว้แล้วที่ไฟปานกลาง
อบจนกระทั่งไม่มีไอน้ำระเหยออกมา และขนมเหลืองสุกทั้งสองด้าน






การประเมินการเรียนการสอน 

ตนเอง       ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน        ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
ครั้งที่ 13
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233


(วันนั้นผมไม่ได้มาเรียนบันทึกครั้งนี้ผมได้ดูของ นางสาว จิตติกา จันทร์สว่าง )
                                   
                                      วันนี้มีการนำเสนองานวิจัยทั้งหมด 7 คน

1.นางสาวกมลพรรณ  แสนจันทร์ 
     เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาของนักเรียนระดับอนุบาล1 / 3
2.นางสาวกมลกาญจน์  มินสาคร
    เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน
3.นางสาวนฤมล  บุญคงชู
    เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรูแบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย
4.นางสาวปนัดดา  อ่อนนวล
    เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย
5.นายธนารัตน์  วุฒิชาติ
    เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลป์สร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ
6.นางสาวชนัฐถ์นันท์  แสวงชัย
    เรื่อง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
7.นางสาวไลลา  คนรู้
    เรื่อง การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลป์สร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


คำศัพท์

Research = วิจัย
Presentation = การนำเสนอ
Environment = สิ่งแวดล้อม
Creative Arts = ศิลป์สร้างสรรค์
Nature = ธรรมชาติ

Reason = เหตุผล
ครั้งที่12

บันทึกอนุทิน
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ
เวลาเรียน  08.30 - 12.30  น.  ห้อง  233


ความรู้ที่ได้รับ
         
วันนี้มีการนำเสนอแผนการสอนโดยมีชื่อกลุ่มดั้งนี้

กลุ่มที่ 1 เรื่องกล้วย
กลุ่มที่ 2 เรื่องไก่
กลุ่มที่ 3 เรื่องกบ
กลุ่มที่ 4 เรื่องปลา
 กลุ่มที่ 5 เรื่องข้าว
กลุ่มที่ 6 เรื่องต้นไม้
กลุ่มที่ 7 เรื่องนม

กลุ่มที่ 8 เรื่องน้ำ
กลุ่มที่ 9 เรื่องมะพร้าว
                 และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มของผมครับ กลุ่มผลไม้ วันนั้นได้ทำ cooking ผลไม้ผัดเนย โดยมีส่วนผสมดังนี้ 
1. ข้าวโพด
2. แอปเปิ้ล
3. ฝรั่ง
4. สัปปะรด
5. ท็อปปิ้ง 
6. เนย
7. น้ำตาล
8. นมข้น

วิธีทำดังนี้
1. ตั้งกระทะให้ร้อนและเอาเนยลงไปให้ละลายในกระทะ
2. นำผลไม้ไปผัดกับเนยเป็นเวลา 3 นาที
3. ตกแต่งจานด้วยท็อปปิ้งต่างๆ
4. นำผลไม้ใส่จานที่ตกแต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ใส่นมข้นแล้วโรยน้ำตาล




การประเมินการเรียนการสอน 
ตนเอง       ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน        ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
 ครั้งที่11

บันทึกอนุทิน
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ
เวลาเรียน  08.30 - 12.30  น.  ห้อง  233


ความรู้ที่ได้รับ
         วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  36  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  26  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล  ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพืช  เป็นต้น

       การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  โดยการศึกษาเปรียบเทียบ  ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน  และนำไปสู่ข้อสรุปว่า  เต่ามีลักษณะอย่างไร  หนูมีลักษณะอย่างไร  (Hendrick,  1998  :  42)  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์

      การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  (Dina  Stachel)  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล2542  :  12)

                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว

                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้

                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง

                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท


          ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง  4  หน่วยดังกล่าว  เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ  ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้  หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก 
รูปการทดลอง




การประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง       ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน        ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง