ครั้งที่11
บันทึกอนุทิน
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30
น. ห้อง 233
ความรู้ที่ได้รับ
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ 3 – 6
ขวบ
มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา
เคมี กลศาสตร์ แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ
สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้
การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อายุ 2
– 6 ขวบ ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ (pre – operative stage)
เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง (self - centered) และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง
เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน เช่น
รู้สี รู้รูปร่าง โดยรู้ทีละอย่าง จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้ หรือเอามาผนวกกันไม่ได้ ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง
ๆ เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต ค้นหา
ให้เหตุผล หรือทดลองด้วยตนเอง
ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
การสังเกต การค้นคว้าหาคำตอบ การให้เหตุผล
ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ เช่น
การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช สังเกตความสูงของพืช และการงอกงามของพืช เป็นต้น
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้ ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต
การจำ
และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้
ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง
ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ตัวอย่าง
เช่น
เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู
โดยการศึกษาเปรียบเทียบ
ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน
และนำไปสู่ข้อสรุปว่า
เต่ามีลักษณะอย่างไร
หนูมีลักษณะอย่างไร (Hendrick, 1998
: 42)
ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้
เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา
สตาเคิล (Dina Stachel)
ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น
เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4
หน่วย ดังนี้ (สตาเคิล, 2542
: 12)
หน่วยที่ 1
การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่ 2
การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่ 3
รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4
การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง
4 หน่วยดังกล่าว เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
ทักษะการสังเกต
การจำแนกประเภท
การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์
แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้
หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
รูปการทดลอง
การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์ มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ
อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น