วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233
 (ไม่ได้มาเรียน อ่างอิงมาจาก นางสาว จิตติกา จันทร์สว่าง)

การนำเสนอวิจัยทั้งหมด 4 คน

1.นางสาวชนากานต์  มีดวง  วิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลป์สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2.นางสาวสุธิดา  คุณโตนด  วิจัยเรื่อง ผลของการบันทึกประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

3.นางสาวธิดารัตน์  สุทธิ  วิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย


4.นางสาวธนภรณ์  คงมนัส  วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
และการทำวาฟเฟิ้ลมีวิธีการและเครื่องปรุงดังนี้
1.แป้งเค้กตราพัดโปก 2 ถ้วยตวง
2.ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ
3.น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
4.เนยสดละลาย 1/2 ถ้วย
5.ไข่แดง 2 ฟอง
6.นมข้นจืด 2/3 ถ้วย
7.น้ำหอมกลิ่นวานิลา 1/2 ช้อนชา
8.ไข่ขาว 2 ฟอง

วิธีทำ
1. ร่อนแป้งตราพัดโบก กับผงฟูเข้าด้วยกัน เทน้ำตาลทรายลงผสมเข้าด้วยกันในอ่างผสม
2. ทำแป้งเป็นบ่อตรงกลาง เติมเนยละลาย ไข่แดง นมข้มจืด น้ำ และกลิ่นวานิลาลงไป
3. ใช้ตะกร้อมือคนจนทั่วให้ส่วนผสมเข้ากันดี แล้วพักไว้
4. ใช้เครื่องผสมอาหารขนาด 5 ลิตร ตีไข่ขาวด้วยหัวตีรูปตะกร้อ
ตีโดยใช้ความเร็วสูง หรือเกียร์3 จนกระทั่งไข่ขาวตั้งยอดแข็ง
5. เทส่วนผสมของไข่แดงลงในไข่ขาว คนตะล่อมให้ส่วนผสมเข้ากัน
6. เทลงบนแม่พิมพ์ของเตาทำขนมวาฟเฟิลที่เปิดเครื่องไว้แล้วที่ไฟปานกลาง
อบจนกระทั่งไม่มีไอน้ำระเหยออกมา และขนมเหลืองสุกทั้งสองด้าน






การประเมินการเรียนการสอน 

ตนเอง       ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน        ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
ครั้งที่ 13
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233


(วันนั้นผมไม่ได้มาเรียนบันทึกครั้งนี้ผมได้ดูของ นางสาว จิตติกา จันทร์สว่าง )
                                   
                                      วันนี้มีการนำเสนองานวิจัยทั้งหมด 7 คน

1.นางสาวกมลพรรณ  แสนจันทร์ 
     เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาของนักเรียนระดับอนุบาล1 / 3
2.นางสาวกมลกาญจน์  มินสาคร
    เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน
3.นางสาวนฤมล  บุญคงชู
    เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรูแบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย
4.นางสาวปนัดดา  อ่อนนวล
    เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย
5.นายธนารัตน์  วุฒิชาติ
    เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลป์สร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ
6.นางสาวชนัฐถ์นันท์  แสวงชัย
    เรื่อง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
7.นางสาวไลลา  คนรู้
    เรื่อง การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลป์สร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


คำศัพท์

Research = วิจัย
Presentation = การนำเสนอ
Environment = สิ่งแวดล้อม
Creative Arts = ศิลป์สร้างสรรค์
Nature = ธรรมชาติ

Reason = เหตุผล
ครั้งที่12

บันทึกอนุทิน
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ
เวลาเรียน  08.30 - 12.30  น.  ห้อง  233


ความรู้ที่ได้รับ
         
วันนี้มีการนำเสนอแผนการสอนโดยมีชื่อกลุ่มดั้งนี้

กลุ่มที่ 1 เรื่องกล้วย
กลุ่มที่ 2 เรื่องไก่
กลุ่มที่ 3 เรื่องกบ
กลุ่มที่ 4 เรื่องปลา
 กลุ่มที่ 5 เรื่องข้าว
กลุ่มที่ 6 เรื่องต้นไม้
กลุ่มที่ 7 เรื่องนม

กลุ่มที่ 8 เรื่องน้ำ
กลุ่มที่ 9 เรื่องมะพร้าว
                 และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มของผมครับ กลุ่มผลไม้ วันนั้นได้ทำ cooking ผลไม้ผัดเนย โดยมีส่วนผสมดังนี้ 
1. ข้าวโพด
2. แอปเปิ้ล
3. ฝรั่ง
4. สัปปะรด
5. ท็อปปิ้ง 
6. เนย
7. น้ำตาล
8. นมข้น

วิธีทำดังนี้
1. ตั้งกระทะให้ร้อนและเอาเนยลงไปให้ละลายในกระทะ
2. นำผลไม้ไปผัดกับเนยเป็นเวลา 3 นาที
3. ตกแต่งจานด้วยท็อปปิ้งต่างๆ
4. นำผลไม้ใส่จานที่ตกแต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ใส่นมข้นแล้วโรยน้ำตาล




การประเมินการเรียนการสอน 
ตนเอง       ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน        ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
 ครั้งที่11

บันทึกอนุทิน
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ
เวลาเรียน  08.30 - 12.30  น.  ห้อง  233


ความรู้ที่ได้รับ
         วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  36  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  26  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล  ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพืช  เป็นต้น

       การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  โดยการศึกษาเปรียบเทียบ  ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน  และนำไปสู่ข้อสรุปว่า  เต่ามีลักษณะอย่างไร  หนูมีลักษณะอย่างไร  (Hendrick,  1998  :  42)  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์

      การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  (Dina  Stachel)  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล2542  :  12)

                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว

                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้

                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง

                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท


          ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง  4  หน่วยดังกล่าว  เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ  ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้  หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก 
รูปการทดลอง




การประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง       ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน        ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
  ครั้งที่10

บันทึกอนุทิน
วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ
เวลาเรียน  08.30 - 12.30  น.  ห้อง  233            



 ความรู้ที่ได้รับ
      
                    แผนการสอนคือ การวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้าอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน
ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
สุพล วังสินธ์ (2536 : 56) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งสรุปความไว้ ดังนี้
1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีเรียนที่ดี ผสมผสานความรู้และจิตวิทยาการศึกษา
2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผลและ
ประเมินผล
4. เป็นคู่มือสำหรับผู้มาสอนแทน
5. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา
6. เป็นผลงานทางวิชาการแสดงความชำนาญความเชี่ยวชาญของผู้ทำ
ลักษณะที่ดีของแผนการจัดการเรียนรู้
สมนึก ภัททิยธนี (2546 : 5) ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแผนต้องมีขั้นตอน ดังนี้
1. เนื้อหาต้องเขียนเป็นรายคาบ หรือรายชั่วโมงตารางสอน โดยเขียนให้
สอดคล้องกับชื่อเรื่องให้อยู่ในโครงการสอน และเขียนเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญพอสังเขป (ไม่ควรบันทึกแผนการสอนอย่างละเอียดมาก ๆ เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)
2. ความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการสำคัญ ต้องเขียนให้ตรงกับเนื้อหาที่
จะสอนส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของเรื่องครูต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนจนสามารถเขียนความคิดรวบยอดได้อย่างมีคุณภาพ
3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ต้องเขียนให้สอดคล้อง กลมกลืนกับความคิดรวบ
ยอด มิใช่เขียนตามอำเภอใจไม่ใช่เขียนสอดคล้องเฉพาะเนื้อหาที่จะสอนเท่านั้นเพราะจะได้เฉพาะ
พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้ความจำ สมองหรือการพัฒนาของนักเรียนจะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
4. กิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดเทคนิคการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้นักเรียน
เกิดการเรียนรู้
5. สื่อที่ใช้ควรเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหา สื่อดังกล่าวต้องช่วยให้นักเรียนเกิด
ความเข้าใจในหลักการได้ง่าย
6. วัดผลโดยคำนึงถึงเนื้อหา ความคิดรวบยอด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและช่วง
ที่ทำการวัด (ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน) เพื่อตรวจสอบว่าการสอนของครูบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
ประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้
ถ้าครูได้ทำแผนการสอนและใช้แผนการสอนที่จัดทำขึ้น เพื่อนำไปใช้สอนในคราวต่อไป แผนการสอนดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 134)
1. ครูรู้วัตถุประสงค์ของการสอน
2. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ
3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
4. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
5. ถ้าครูประจำชั้นไม่ได้สอน ครูที่มาทำการสอนแทนสามารถสอนแทนได้ตาม
จุดประสงค์ที่กำหนด
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การตีความหมายของหลักสูตร และการกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรที่จะต้องนำมาจัดการเรียนการสอน ให้แก่ผู้เรียน ผลจากการวางแผนจะได้
คู่มือที่ใช้เป็นแนวทาง เรียกว่ากำหนดการสอน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 27)
1. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร ได้แก่ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เวลาเรียนแนว
ดำเนินการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตอบสนองจุดประสงค์การเรียนรู้ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การวัดและการประเมินการเรียน คำอธิบายในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ซึ่งระบุเนื้อหาที่ต้องให้นักเรียนได้เรียน ตามลำดับขั้นตอนกระบวนการที่ต้องให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้
2. ศึกษาความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับองค์ประกอบแต่ละส่วนของหลักสูตร
3. ลำดับความคิดรวบยอดที่จัดให้นักเรียนแต่ละระดับชั้นได้เรียนรู้ก่อนหลัง โดย
พิจารณาขอบข่ายเนื้อหา และกิจกรรมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชา
4. กำหนดผลที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดแต่ละ
เรื่องแล้ว
5. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ในคำอธิบาย
รายวิชา หรืออาจพิจารณาจากกิจกรรมที่เหมาสมกับเนื้อหาสาระ
6. กำหนดเวลาเรียนให้เหมาะสมกับขอบข่ายเนื้อหาสาระหรือความคิดรวบยอด
จุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมที่กำหนดไว้
7. รวบรวมรายละเอียดตามกิจกรรมข้อ 16 จัดทำเป็นเอกสารที่เรียกว่ากำหนด
การสอนหรือแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมแผนการสอนต่อไป
การเตรียมการสอนและการปฏิบัติการสอน
การเตรียมการสอนเริ่มด้วยการจัดทำแผนการสอน ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผน มาสร้าง
เป็นแผนการสอนย่อยๆ องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการสอน ควรมีดังนี้ (สำลี รักสุทธี และคณะ.
2541 : 7)
1. สาระสำคัญ
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
3. เนื้อหา
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
5. สื่อการเรียนการสอน
6. การวัดและประเมินผลการเรียน
รายละเอียดแผนการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้ (Lesson Plan) ประกอบด้วย 9 หัวข้อ โดยการบูรณาการของหน่วยศึกษานิเทศก์ (สำลี รักสุทธี และคณะ. 2541 : 136137)
1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่
ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อเรียนตามแผนกาสอนแล้ว
2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่
ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อเรียนจบตามแผนการสอนแล้ว
3.จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective)เป็นเนื้อหาที่จัดกิจกรรมและต้องการให้นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้
4. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities) เป็นการสอนขั้นตอนหรือ
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
5. สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media) เป็นสื่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม
การเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
6. การวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation) เป็นการกำหนด
ขั้นตอนหรือวิธีการวัดและประเมินผล ว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียน
การสอน แยกเป็นก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน
7. กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมที่บันทึกการตรวจแผนการสอน
8. ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เป็นการบันทึกตรวจแผนการสอนเพื่อเสนอ
แนะหลังจากได้ตรวจสอบความถูกต้อง การกำหนดรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ในแผนการสอน
9. บันทึกการสอน เป็นการบันทึกของผู้สอน หลังจากนำแผนการสอนไปใช้แล้ว
เพื่อเป็นการปรับปรุงและใช้ในคราวต่อไป มี 3 หัวข้อ คือ
9.1 ผลการเรียน เป็นการบันทึกผลการเรียนด้านสุขภาพและปริมาณทั้ง
3 ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งกำหนดในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การประเมิน
9.2 ปัญหาและอุปสรรค เป็นการบันทึก ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
ในขณะสอน ก่อนสอน และหลังทำการสอน
9.3 ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข เป็นการบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อ
แก้ไขปรับปรุงการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ บรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนที่หลักสูตรกำหนด
รูปแบบของแผนการเรียนรู้

คำศัพท์
ความคิดรวบยอด (Concept) 
แผนการเรียนรู้ (Lesson Plan)  
สาระสำคัญ (Concept)
จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective)
กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities)
สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media)
การวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation)


การประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง       ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน        ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง


ครั้งที่9

บันทึกอนุทิน
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ
เวลาเรียน  08.30 - 12.30  น.  ห้อง  233


เครื่องบินกระดาษ
อุปกรณ์
1.กระดาษ
2. กรรไกร


วิธีทำและการเล่น







ประโยชน์
  1. ใช้วัสดุที่หาได้ง่าย
  2. มีวิธีทำที่ไม่ยากเด็ก ๆ สามารถทำได้เอง


รายชื่อสื่อของเพื่อนในห้อง

1.ไก่กระต๊าก               11.กล้องส่องทางไกล                 21.ลูกข่างหรรษา
2.ขวดผิวปาก              12.กล่องลูกโป่ง                          22.นาฬิกาน้ำ
3.กระป๋องโยกเยก       13.หลอดหมุนได้                         23.เสียงโป๊ะ
4.ดินสอกังหันลม        14.ตุ๊กตาล้มลุก                            24.ปืนลูกโป่ง
5.หลอดปั๊มน้ำ             15.ลุกปิงปองหมุน                       25.หนูน้อยกระโดดร่ม
6.ไหมพรหมเต้นระบำ  16.เรือลอยน้ำ                              26.ขวดหนังสติ๊ก
7.เหวี่ยงมหาสนุก        17.รถพลังลม                               27.คลื่นทะเลในขวด
8.รถแข่ง                     18.แท่งยิงลูกบอลจากไอติม          28.เครื่องล่อนวงแหวน
9.หนังสติ๊กหรรษา        19.หลอดเสียงสูงต่ำ                     29.โทรศัพท์จากแก้วพลาสติก
10.ลานหรรษา            20.แม่เหล็กตกปลา                      30.เชียร์ลีดเดอร์


 การประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง       ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน        ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง





ครั้งที่8

บันทึกอนุทิน
วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

เวลาเรียน  08.30 - 12.30  น.  ห้อง  233


ครั้งที่7

บันทึกอนุทิน
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ
เวลาเรียน  08.30 - 12.30  น.  ห้อง  233




1.บทความเรื่องแสงสีกับชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวันของเรานั้น มีอีกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราเสมอ เรื่องนี้อาจจะทำให้เราเห็นข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่มีตาที่ดีเหมือนงูหรือแมลงบางชนิด นั่นก็คือเรื่องของแสงสี ใช่แล้ว อ่านไม่ผิด "แสงสี" ซึ่งถ้าใครที่เรียนศิลปะมาแล้วจะคุ้นกับคำว่าแม่สีมากกว่า แต่แสงสีกับแม่สีคนละอย่างกัน
แม่สีประกอบด้วยสามสี คือ แดง น้ำเงิน และเหลือง ซึ่งจะทำให้เราผสมแม่สีเหล่านั้นแล้วกลายมาเป็นสีอื่นๆ ตามความต้องการได้ แต่แสงสีเราจับต้องไม่ได้ เราจะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อมันไปกระทบกับอะไรสักอย่างซึ่งเราจะเรียกว่าฉาก เมื่อแสงสีไปกระทบกับฉากจึงจะมองเห็นแสงสีนั้น

             แม่ของแสงสีมีทั้งหมด 3 แสงสีด้วยกัน คือแสงสีแดง แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว ทำไมมีแค่สามแสงสี นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองแล้วว่า แสงสีต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้นเกิดจากการผสมกันของแสงสีทั้งสามนี้ทั้งสิ้น แล้วแสงสีเหล่านี้มาจากที่ไหน คำตอบก็คือดวงอาทิตย์นั่นเอง เพราะดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ให้ทั้งความร้อนและความสว่างแก่โลก ความสว่างนั่นเองก็คือแสง แต่ที่เรามองไม่เห็นแสงสีของอาทิตย์เพราะว่า แสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์นั้นเป็นแสงขาว ที่เรียกแสงขาวก็เพราะแสงอาทิตย์ไปกระทบกับฉากสีขาวก็จะเป็นสีขาวนั่นเอง ขณะที่แสงสีแดงตกกระทบฉากสีขาว เราจะมองเห็นเป็นสีแดง เราก็เรียกแสงสีแดงนั่นเอง แต่ถ้าเราเอาแสงสีเขียวและแสงสีแดงปริมาณเท่าๆกันไปฉายผสมกันในจอสีขาวเราจะมองเห็นเป็นสีเหลือง หมายความว่า แสงสีเหลืองที่เราเห็นเกิดจากการรวมกันของแสงสีแดงและแสงสีเขียวในปริมาณที่เท่ากัน
        
2.บทความเรื่องเงามหัศจรรย์
พูดถึง เงาผู้ใหญ่อย่างเราๆ คงจำได้ว่าตอนเป็นเด็กนั้น เราตื่นเต้นกับการเล่นเงามากแค่ไหน เราอยากรู้ซะเหลือเกินว่า เงาเกิดขึ้นได้อย่างไร เงาเป็นสิ่งมหัศจรรย์สำหรับเราซะจริงๆ

เมื่อโตขึ้น แล้วย้อนกลับไปมองเด็กๆ กับเงา เสน่ห์ของเงา ความมหัศจรรย์ของเงาที่มีต่อเด็กๆ ยังคงมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง และหากเราใช้ เงาให้เป็น เงาจะก่อประโยชน์ให้เด็กๆ อย่างที่เราคิดไม่ถึงทีเดียว

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ของเด็กอย่าง ดร.วรนาท รักสกุลไทย  ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (แผนกอนุบาล)  ได้ให้ความคิดเห็นเรื่องนี้ว่า...

เรื่องราวของ เงาเกี่ยวข้องกับการทำงานของแสง  เด็กๆ แม้แต่ผู้ใหญ่หลายๆ คนก็ต้องอึ้งไปเหมือนกัน  เวลาจะอธิบายว่า เงาเกิดขึ้นได้อย่างไร’  ตอนเด็กๆ จำได้ว่าอยากได้คำอธิบายมากว่า ทำไมเงามีรูปร่างเหมือนวัตถุที่ทำให้เกิดเงา’  จนมีการทดลองเรื่องแสงส่องผ่านอะไรได้บ้าง  จึงเกิดความคิดรวบยอด และสรุปได้ว่าเงาคือส่วนที่มืดซึ่งเกิดจาการมีวัตถุไปขวางกั้นแสง ทำให้มองเห็นเป็นรูปร่างของวัตถุนั้น  ต่อมาเมื่อเรียนฝึกหัดครูปฐมวัยได้เรียนเรื่องการเล่านิทานโดยใช้เงามือ ก็ยิ่งคิดว่าเงาเป็นสิ่งมหัศจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย

                  เด็กๆ เรียนรู้อะไรจากเงา

                 วิทยาศาสตร์ : ความรู้พื้นฐานเรื่องแสง และทักษะการสังเกตรูปร่างของเงาที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะทักษะการสืบค้นและหาข้อสรุป
                 คณิตศาสตร์ :  ความรู้พื้นฐานเรื่อง รูปทรง  ขนาด  จำนวน  มิติสัมพันธ์ และการวัด เช่น การวัดเงาส่วนสูงของตนเองและเพื่อนๆ
                ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ :  จากการคิดสร้างเงารูปแปลกๆ คิดสร้างเรื่องหรือสิ่งใหม่ๆ จากเงาที่เห็น
               ภาษาและการสื่อสาร : ได้จากการแต่งเป็นนิทานและคำคล้องจอง
                เรียกว่าการเรียนรู้เหล่านี้มาจากการทำงานของสมองล้วนๆ ขณะที่เล่นกับเงาสมองของลูกทำงานอย่างปรู๊ดปร๊าดทีเดียว

3.บทความเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Conservation) หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด และใช้ได้เป็นระยะเวลานานมากที่สุด ทั้งนี้จะต้องให้มีความสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด แต่ในขณะเดียวกันสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนั้นให้คุ้มค่ามากที่สุด หรือเรียกว่าการใช้อย่างยั่งยืน สาเหตุที่ต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะผลสืบเนื่องจากการเพิ่มประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดการร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติ อันนำมาซึ่งปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชนทั้งในเขตเมืองบและชนบท นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับความมั่นคง และมั่งคั่งของประชาชน ในชาติการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินั้น จะต้องมีนโยบายในการควบคุมการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด คำนึงถึงผลได้ผลเสียอย่างถี่ถ้วน โดยการพิจารณาตามหลักวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกจังหวะและความต้องการของสังคม ทั้งนี้เพราะทรัพยากรธรรมชาติเป็นมรดกอันมหาศาล ที่ธรรมชาติให้ไว้ เพื่อมนุษย์ได้ใช้ในการดำรงชีวิต จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อมิให้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นหมดไปอย่างรวดเร็ว เพราะในการอนุรักษ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งในเมืองและชนบท ดังนั้น ในการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด จะต้องไม่แยกมนุษย์ออก จากสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม หรือสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

4.บทความเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล

5.บทความเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝนกระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์

ความรู้ที่ได้รับ 
         การประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรคำนึงถึง การฝึกทักษะในแต่ละวัน ควรมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับของเล่น และไม่ยากเกิน ความสามารถของเด็ก ให้เด็กได้ลองปฎิบัติด้วยตนเองและไม่เกินความเป็นจริง


คำศัพท์ 
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment)
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Conservation)


การนำไปประยุกต์ใช้ 
นำมาประยุกต์ใช้ในการใช้ชีวิตและการนำไปสอนต่อไป

การประเมินการเรียนการสอน 
ตนเอง       ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน        ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง