ครั้งที่7
บันทึกอนุทิน
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วิชา
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน
08.30 - 12.30 น. ห้อง
233
1.บทความเรื่องแสงสีกับชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวันของเรานั้น
มีอีกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราเสมอ เรื่องนี้อาจจะทำให้เราเห็นข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่มีตาที่ดีเหมือนงูหรือแมลงบางชนิด
นั่นก็คือเรื่องของแสงสี ใช่แล้ว อ่านไม่ผิด "แสงสี"
ซึ่งถ้าใครที่เรียนศิลปะมาแล้วจะคุ้นกับคำว่าแม่สีมากกว่า
แต่แสงสีกับแม่สีคนละอย่างกัน
แม่สีประกอบด้วยสามสี คือ แดง น้ำเงิน
และเหลือง ซึ่งจะทำให้เราผสมแม่สีเหล่านั้นแล้วกลายมาเป็นสีอื่นๆ
ตามความต้องการได้ แต่แสงสีเราจับต้องไม่ได้
เราจะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อมันไปกระทบกับอะไรสักอย่างซึ่งเราจะเรียกว่าฉาก
เมื่อแสงสีไปกระทบกับฉากจึงจะมองเห็นแสงสีนั้น
แม่ของแสงสีมีทั้งหมด 3 แสงสีด้วยกัน
คือแสงสีแดง แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว ทำไมมีแค่สามแสงสี
นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองแล้วว่า แสงสีต่างๆ
ที่มีอยู่ในโลกนั้นเกิดจากการผสมกันของแสงสีทั้งสามนี้ทั้งสิ้น
แล้วแสงสีเหล่านี้มาจากที่ไหน คำตอบก็คือดวงอาทิตย์นั่นเอง เพราะดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ให้ทั้งความร้อนและความสว่างแก่โลก
ความสว่างนั่นเองก็คือแสง แต่ที่เรามองไม่เห็นแสงสีของอาทิตย์เพราะว่า
แสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์นั้นเป็นแสงขาว
ที่เรียกแสงขาวก็เพราะแสงอาทิตย์ไปกระทบกับฉากสีขาวก็จะเป็นสีขาวนั่นเอง
ขณะที่แสงสีแดงตกกระทบฉากสีขาว เราจะมองเห็นเป็นสีแดง เราก็เรียกแสงสีแดงนั่นเอง
แต่ถ้าเราเอาแสงสีเขียวและแสงสีแดงปริมาณเท่าๆกันไปฉายผสมกันในจอสีขาวเราจะมองเห็นเป็นสีเหลือง
หมายความว่า
แสงสีเหลืองที่เราเห็นเกิดจากการรวมกันของแสงสีแดงและแสงสีเขียวในปริมาณที่เท่ากัน
2.บทความเรื่องเงามหัศจรรย์
พูดถึง “เงา” ผู้ใหญ่อย่างเราๆ คงจำได้ว่าตอนเป็นเด็กนั้น
เราตื่นเต้นกับการเล่นเงามากแค่ไหน เราอยากรู้ซะเหลือเกินว่า “เงา” เกิดขึ้นได้อย่างไร
เงาเป็นสิ่งมหัศจรรย์สำหรับเราซะจริงๆ
เมื่อโตขึ้น แล้วย้อนกลับไปมองเด็กๆ กับเงา
เสน่ห์ของเงา ความมหัศจรรย์ของเงาที่มีต่อเด็กๆ ยังคงมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
และหากเราใช้ “เงา” ให้เป็น
เงาจะก่อประโยชน์ให้เด็กๆ อย่างที่เราคิดไม่ถึงทีเดียว
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ของเด็กอย่าง
ดร.วรนาท รักสกุลไทย
ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (แผนกอนุบาล) ได้ให้ความคิดเห็นเรื่องนี้ว่า...
“เรื่องราวของ
“เงา” เกี่ยวข้องกับการทำงานของแสง เด็กๆ แม้แต่ผู้ใหญ่หลายๆ คนก็ต้องอึ้งไปเหมือนกัน เวลาจะอธิบายว่า ‘เงาเกิดขึ้นได้อย่างไร’
ตอนเด็กๆ จำได้ว่าอยากได้คำอธิบายมากว่า ‘ทำไมเงามีรูปร่างเหมือนวัตถุที่ทำให้เกิดเงา’
จนมีการทดลองเรื่องแสงส่องผ่านอะไรได้บ้าง จึงเกิดความคิดรวบยอด
และสรุปได้ว่าเงาคือส่วนที่มืดซึ่งเกิดจาการมีวัตถุไปขวางกั้นแสง
ทำให้มองเห็นเป็นรูปร่างของวัตถุนั้น
ต่อมาเมื่อเรียนฝึกหัดครูปฐมวัยได้เรียนเรื่องการเล่านิทานโดยใช้เงามือ
ก็ยิ่งคิดว่าเงาเป็นสิ่งมหัศจรรย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย ”
เด็กๆ เรียนรู้อะไรจากเงา
วิทยาศาสตร์ : ความรู้พื้นฐานเรื่องแสง
และทักษะการสังเกตรูปร่างของเงาที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะทักษะการสืบค้นและหาข้อสรุป
คณิตศาสตร์ : ความรู้พื้นฐานเรื่อง รูปทรง ขนาด
จำนวน มิติสัมพันธ์ และการวัด เช่น
การวัดเงาส่วนสูงของตนเองและเพื่อนๆ
ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
: จากการคิดสร้างเงารูปแปลกๆ
คิดสร้างเรื่องหรือสิ่งใหม่ๆ จากเงาที่เห็น
ภาษาและการสื่อสาร
: ได้จากการแต่งเป็นนิทานและคำคล้องจอง
เรียกว่าการเรียนรู้เหล่านี้มาจากการทำงานของสมองล้วนๆ
ขณะที่เล่นกับเงาสมองของลูกทำงานอย่างปรู๊ดปร๊าดทีเดียว
3.บทความเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Conservation)
หมายถึง
การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด
และใช้ได้เป็นระยะเวลานานมากที่สุด ทั้งนี้จะต้องให้มีความสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด
แต่ในขณะเดียวกันสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนั้นให้คุ้มค่ามากที่สุด
หรือเรียกว่าการใช้อย่างยั่งยืน สาเหตุที่ต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เพราะผลสืบเนื่องจากการเพิ่มประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดการร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติ
อันนำมาซึ่งปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร
ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชนทั้งในเขตเมืองบและชนบท
นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับความมั่นคง และมั่งคั่งของประชาชน
ในชาติการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินั้น
จะต้องมีนโยบายในการควบคุมการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด
คำนึงถึงผลได้ผลเสียอย่างถี่ถ้วน โดยการพิจารณาตามหลักวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
ถูกจังหวะและความต้องการของสังคม ทั้งนี้เพราะทรัพยากรธรรมชาติเป็นมรดกอันมหาศาล
ที่ธรรมชาติให้ไว้ เพื่อมนุษย์ได้ใช้ในการดำรงชีวิต
จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อมิให้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นหมดไปอย่างรวดเร็ว
เพราะในการอนุรักษ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งในเมืองและชนบท ดังนั้น
ในการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด จะต้องไม่แยกมนุษย์ออก
จากสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม หรือสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
4.บทความเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ
ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย
เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์
เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น
เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์
วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว
ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
5.บทความเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science
experiment) หมายถึง
การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้
ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง
และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ
บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง
หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ
มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝนกระ
บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้
การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย
ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่
ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์
ความรู้ที่ได้รับ
การประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรคำนึงถึง การฝึกทักษะในแต่ละวัน
ควรมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับของเล่น และไม่ยากเกิน ความสามารถของเด็ก ให้เด็กได้ลองปฎิบัติด้วยตนเองและไม่เกินความเป็นจริง
คำศัพท์
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science
experiment)
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Conservation)
การนำไปประยุกต์ใช้
นำมาประยุกต์ใช้ในการใช้ชีวิตและการนำไปสอนต่อไป
การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง
ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน
ตั้งใจเรียนอาจมีการคุยกันบ้าง
อาจารย์
มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น